"รูปสินค้าใช้เพื่อประกอบโฆษณาเท่านั้น”
เป็นแหล่งของโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ได้ ในเมล็ดมีธาตุเหล็กสูงใกล้เคียงกับไข่แดงและตับ โปรตีนจากเมล็ดทานตะวันเป็นแหล่งของสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพเช่นวิตามิน A, E และ B1 และ 6, โฟเลตและไนอาซิน
ทานตะวัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus annuus Linn. ชื่ออื่นๆ ได้แก่ ชอนตะวัน บัวทอง sunflower และ sunchoke เป็นไม้ล้มลุกอายุประมาณ 1 ปี สูง 1 – 4 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีขนสากแข็ง ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปไข่ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย มีขนแข็งทั้งสองด้าน ก้านใบยาว ดอกเป็นกระจุกขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว จานรองดอกแบน กลีบดอกวงนอกสีเหลืองอ่อนหรือสีทอง กลีบดอกวงในสีเหลือง ผลสีขาว เหลือง หรือดำ สรรพคุณแผนโบราณระบุว่า รากแก้เสียดแน่นหน้าอก ไส้ในลำต้นแก้บาดแผล เลือดออกไม่หยุด ใบใช้บำรุงกระเพาะอาหาร ดอกใช้แก้ไข้ ขับลม แก้วิงเวียนศีรษะ ฐานดอกแก้ปวดศีรษะ วิงเวียน แก้ปวดฟัน และเมล็ดใช้ขับปัสสาสะได้
ประโยชน์ของทานตะวัน เมล็ด ใช้บริโภคโดยตรง เป็นแหล่งของโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ได้ ในเมล็ดมีธาตุเหล็กสูงใกล้เคียงกับไข่แดงและตับ เมื่อนำมาบดเป็นแป้งจะได้แป้งสีขาว มีไขมันสูง มีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณแป้ง (2) โดยเมล็ดทานตะวัน (แห้ง) ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม จะได้พลังงาน 490 แคลอรี่ ไขมัน 32.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 38.6 กรัม เส้นใย 3.7 กรัม โปรตีน 16.7 กรัม แคลเซียม 92 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 632 มิลลิกรัม เหล็ก 5.8 มิลลิกรัม วิตามิน บี2 0.07 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.4 มิลลิกรัม น้ำมัน น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดทานตะวันเป็นน้ำมันคุณภาพสูง ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว และยังประกอบไปด้วยวิตามินอีซึ่งมีคุณภาพสูงกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ แม้ว่าค่าการต้านอนุมูลอิสระจะต่ำกว่าน้ำมันรำข้าวและน้ำมันถั่วเหลืองประมาณ 2 เท่า มีการทดลองระบุว่าการรับประทานน้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำมันเมล็ดทานตะวันมีผลช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในเลือดของหนูทดลอง และมีการทดลองทางคลินิกพบว่า น้ำมันเมล็ดทานตะวันที่มีการเติมสาร hydroxytyrosol (พบได้ในน้ำมันมะกอก) ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้